‘หลานม่า’ พร้อมฉายให้เข้าชมกันทั่วประเทศแล้วในวันที่ 4 เมษายนนี้ จึงถือโอกาสในการรีวิวภาพยนตร์ในภาพรวมโดยไม่เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ
‘หลานม่า’ พร้อมฉ‘หลานม่า’ พร้อมเข้าฉายเป็นที่เรียบร้อยแล้วในวันที่ 4 เมษายน 2567 เพียงแค่ฉายรอบปฐมทัศน์ กระแสก็พุ่งแรงติดเทรนด์ใน Google กลายเป็นหนึ่งในหนังไทยที่น่าติดตามที่สุดในช่วงนี้ ทาง Spacebar VIBE มีโอกาสได้เข้าชมจึงอยากนำมารีวิวภาพรวมของหนัง สำหรับใครที่ลังเลว่าจะดูหรือไม่ หนังดีแค่ไหน หรือคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปร่วมสองชั่วโมงหรือไม่ายให้เข้าชมกันทั่วประเทศแล้วในวันที่ 4 เมษายนนี้ จึงถือโอกาสในการรีวิวภาพยนตร์ในภาพรวมโดยไม่เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ
ผู้เคยสร้างผลงานอันเลื่องชื่อมาแล้วอย่าง ฉลาดเกมส์โกง และ โปรเจกต์ เอส เดอะซีรีส์ (กำกับฯ ซีซัน 3 ตอน SOS Skate ซึม ซ่าส์) พัฒน์ ได้หวนกลับคืนมาอีกครั้งกับบทหนังซึ้งเรียกน้ำตาหากแต่อบอุ่นหัวใจ
หยิบยกจากเรื่องราวชีวิตครอบครัวชาวไทยเชื่อสายจีนมาใส่ไว้ในเรื่อง บอกเล่าเรื่องราวของ อาม่า และหลานชาย ที่เริ่มก่อร่างสร้างความทรงจำและความผูกพันท่ามกลางปัญหาครอบครัวและปัญหาการเงิน นำแสดงในบทหลานชายโดย บิวกิ้น-พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล ร่วมด้วยนักแสดงมากฝีมืออย่าง เผือก-พงศธร จงวิลาส, ดู๋-สัญญา คุณากร, ตู-ต้นตะวัน ตันติเวชกุล และบทบาทสำคัญคือ แต๋ว-อุษา เสมคำ นักแสดงอาวุโสที่เพิ่งเคยแสดงหนังใหญ่เป็นเรื่องแรกในบทอาม่า
สำหรับเนื้อเรื่องย่อ หลานม่า อย่างที่หลายคนได้ผ่านตามาแล้วในตัวอย่างภาพยนตร์ ‘หลานม่า’ เล่าเรื่องราวในปัจจุบันของครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน โดยเจาะไปที่ชีวิตของ ‘เอ็ม’ หลานชายที่หวังมรดกจาก ‘อาม่าเหม้งจู’ เช่นเดียวกันกับลูกๆ ของอาม่าทั้งสาม แต่เมื่อ เอ็ม ได้เข้าไปใกล้ชิด หลานม่า ดูแลเอาใจใส่อาม่า ความสัมพันธ์ระหว่างอาม่าและหลานก็ได้ก่อตัวขึ้นเรื่อยๆ กลายเป็นเรื่องราวอบอุ่นหัวใจที่อบอวลไปด้วยน้ำตาแห่งความประทับใจ
“หลานม่า” เล่าเรื่องราวของ เอ็ม (บิวกิ้น พุฒิพงศ์ อัสสรัตนกุล) ที่ตัดสินใจดร็อปเรียนตอนปีสี่ เพื่อมาเอาดีทางการเป็นนักแคสต์เกม แต่ทำยังไงก็ไม่รุ่ง เอ็มเลยคิดจะรวยด้วยการทำงานสบายๆ แบบ มุ่ย (ตู ต้นตะวัน ตันติเวชกุล) ลูกพี่ลูกน้องที่รับดูแลอากงที่ป่วยระยะสุดท้าย จนกลายเป็นทายาทคนเดียวที่ได้รับมรดกเป็นบ้านราคากว่าสิบล้าน เส้นทางการเป็นเศรษฐีรออยู่ตรงหน้า เอ็มจึงอาสาไปดูแล อาม่า (แต๋ว อุษา เสมคำ) ที่ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง และน่าจะมีชีวิตอยู่ได้อีกไม่เกินปี โดยหวังจะได้มรดกหลักล้านเช่นกัน
เมื่อหลานกับอาม่าที่อายุห่างกันกว่า 50 ปี ต้องมาอยู่ร่วมกัน การต่อปากต่อคำจึงเกิดขึ้นในทุกโมเมนต์ แต่มันกลับ เป็นช่วงเวลาที่ทำให้อาม่าลืมเหงา จากการเฝ้ารอลูกชายคนโต กู๋เคี้ยง (ดู๋ สัญญา คุณากร) ลูกสาวคนกลาง อย่าง แม่ของเอ็ม (เจีย สฤญรัตน์ โทมัส) และลูกชายคนเล็กอย่าง กู๋โส่ย (เผือก พงศธร จงวิลาส) ที่จะมาพร้อมหน้ากันตามเทศกาลต่างๆ เท่านั้น ไม่น่าเชื่อว่างานที่เริ่มต้นทำเพราะหวังรวย จะทำให้คนห่วยๆ อย่างเอ็มได้รู้ว่าคำว่า “ครอบครัว” มีค่ามากกว่าเงิน
เราจะมาดูว่าทำไม ‘หลานม่า’ ถึงครองใจคนดูได้ขนาดนั้นแม้ผ่านไปเพียงแค่วันเดียว โดยพยายามไม่เปิดเผยเนื้อหาสำคัญของเนื้อเรื่อง
อย่างแรกคือการดำเนินเรื่องในสเกลเล็ก น้อยตัวละครแต่หลากอารมณ์ เป็นข้อดีสำหรับหนังเพื่อจะได้โฟกัสกับอารมณ์ตัวละคร เรื่องราวชีวิตของแต่ละคน และเล่นกับซีนภาพและนัยยะได้ดีขึ้น อีกมู้ดของการดำเนินเรื่องคือ จังหวะการตัดฉากและจังหวะของตัวละครมีความลงตัว สำหรับบางคนอาจรู้สึกสะดุดกับฉากที่ค้างเติ่งอยู่บ้าง ซึ่งความค้างเติ่งนี้กลับคือจุดที่น่าสนใจของหนัง คือทำให้ผู้ชมรู้สึกพินิจอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในเรื่อง อย่างไรก็ตาม หนังมีการเล่าเรื่องที่ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย และเข้าถึงคนทุกคน ทั้งนี้ทั้งนั้นเพราะฝีมือการแสดงของทุกๆ คนที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของภาพยนตร์เรื่องนี้
จากที่กล่าวไปถึงเรื่อง ‘ความเข้าถึงคนทุกคน’ จึงเป็นสิ่งที่น่าพูดถึงเช่นกัน คือการที่ พัฒน์ ผู้กำกับหนังได้หยิบยกเรื่องราวในครอบครัวที่เรียกได้ว่าอาจเกิดขึ้นจริงกับครอบครัวใครหลายคน แต่สิ่งที่น่าสนใจกว่าคือการเล่าเจาะไปที่ครอบครัวคนจีน ทำให้ผู้ชมเข้าใจธรรมเนียมประเพณีชาวไทยเชื้อสายจีนไปพร้อมๆ กัน น่าแปลกที่พอเป็นเรื่องราวของชนกลุ่มหนึ่งในประเทศ มันทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกใคร่รู้และเกิดความ ‘อ๋อ’ ไปกับทุกเหตุการณ์ของเรื่อง ส่วนตัวผู้เขียนมีเชื้อสายจีนเช่นกัน พอชมแล้วก็รู้สึก relate (เข้าถึง) กับตัวละครโดยไม่รู้ตัว
อย่างที่พอจะเห็นในตัวอย่างหนัง บ้านของอาม่านั้นเป็น average หรือเกือบเรียกได้ว่าเป็นการ streotype บ้านชาวจีนทั้งปวงเลยก็ว่าได้ รูปทรงอาคารแบบตึกแถว เก้าอี้ตั่งไม้ หิ้งบูชาเทพจีน และที่สำคัญคือของที่เก็บไว้จนแน่นขนัด น่าประหลาดใจที่พอผู้เขียนได้เห็นสิ่งเหล่านี้บนจอหนัง รู้สึกสัมผัสได้ถึงวิถีชีวิตของชาวจีนจริงๆ ที่อยู่ในนั้น เราได้สัมผัสวัฒนธรรมจีน (แม้เพียงน้อยนิด) ผ่านการเล่าเรื่องของ ‘หลานม่า’ แม้แต่ความเชื่อเรื่อง ‘ฮวงซุ้ย’ และ ‘เชงเม้ง’ ทำให้ชาวไทยที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เข้าใจว่าชาวไทยเชื้อสายจีนใช้ชีวิตอย่างไร รวมถึงภาวะอารมณ์กับสิ่งที่ ‘คนชรา’ ต้องพบเจอในช่วงบั้นปลายชีวิต
เรื่องของการเอาใจใส่คนรอบข้างแม้ในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เรื่องที่ผู้เขียนชื่นชอบเป็นพิเศษคือการใส่เรื่องราวความใส่ใจของตัวละครไว้ในเรื่อง เสมือนเป็นเมสเซจสื่อสารความในใจตัวละครโดยปราศจากบทสนทนาที่อาจดูโจ่งแจ้งและชัดเจนเกินไป หากใครได้ชมเรื่อง ‘หลานม่า’ มาแล้วจะเข้าใจว่าผู้เขียนพูดถึงอะไร มันมีสารบางอย่างอยู่เสมอในการกระทำของตัวละครตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งนี้เป็นการสื่อให้เห็นว่าหากเราได้รักใคร และเอาใจใส่ใครจริงๆ เราก็จะทำแบบนี้แหละ คงเหมือนประโยคที่กล่าวว่า “การกระทำสำคัญกว่าคำพูด” ตลอดระยะเวลาการชม ผู้เขียนรู้สึกว่าอยากกลับไปใช้เวลากับคนที่บ้านมากขึ้น เริ่มนึกถึงคนรอบตัวที่คอยเอาใจใส่เรา ถ้าเมนไอเดียของหนังคือสิ่งนี้ นั่นหมายความว่าตัวหนัง (หรือผู้กำกับฯ) ได้ทำสำเร็จแล้ว
เรื่องของการเอาใจใส่คนรอบข้างแม้ในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ เรื่องที่ผู้เขียนชื่นชอบเป็นพิเศษคือการใส่เรื่องราวความใส่ใจของตัวละครไว้ในเรื่อง เสมือนเป็นเมสเซจสื่อสารความในใจตัวละครโดยปราศจากบทสนทนาที่อาจดูโจ่งแจ้งและชัดเจนเกินไป หากใครได้ชมเรื่อง ‘หลานม่า’ มาแล้วจะเข้าใจว่าผู้เขียนพูดถึงอะไร มันมีสารบางอย่างอยู่เสมอในการกระทำของตัวละครตั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งนี้เป็นการสื่อให้เห็นว่าหากเราได้รักใคร และเอาใจใส่ใครจริงๆ เราก็จะทำแบบนี้แหละ คงเหมือนประโยคที่กล่าวว่า “การกระทำสำคัญกว่าคำพูด” ตลอดระยะเวลาการชม ผู้เขียนรู้สึกว่าอยากกลับไปใช้เวลากับคนที่บ้านมากขึ้น เริ่มนึกถึงคนรอบตัวที่คอยเอาใจใส่เรา ถ้าเมนไอเดียของหนังคือสิ่งนี้ นั่นหมายความว่าตัวหนัง (หรือผู้กำกับฯ) ได้ทำสำเร็จแล้ว
ท้ายที่สุดคือนักแสดงที่เข้าถึงตัวละครได้เป็นอย่างดี เข้าใจว่านักแสดงทำการบ้านและใส่ใจทุ่มเทกับบทที่ได้รับมาก ทั้ง บิวกิ้น และยายแต๋ว แม้เป็นหนังเรื่องแรกที่ได้รับบทนำแต่ก็แสดงออกมาได้ดี สีหน้า ท่าทาง และจังหวะการพูดเป็นธรรมชาติ รวมถึงนักแสดงคนอื่นๆ ที่ตีบทแตกจนทำให้ผู้ชมรู้สึกอคติได้อย่างเหลือเชื่อ (แปลว่าแสดงดี) อาจเป็นข้อดีของหนังที่มีสโคปการเล่าเรื่องที่ไม่กว้างเกินไปทำให้ผู้ชมสามารถทำความเข้าใจตัวตนของแต่ละคนได้ภายในเวลาไม่นาน
เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกระแสของหนังไทยที่น่าสนใจ เป็นการสร้างคลื่นแห่งการพัฒนาอย่างต่อเนื่องให้กับหนังไทยอีกด้วย นับตั้งแต่เรื่อง ‘สัปเหร่อ,’ ‘เพื่อนไม่สนิท,’ และ ‘14 อีกครั้ง’ ปัจจุบันหนังไทยเริ่มก้าวไปอีกขั้น เห็นได้ชัดจากกระแสซีรีส์ ‘สาธุ’ รวมถึงหนังอินดี้นอกกระแสอย่าง ‘Morrison’ ของ ป้อม-พุทธิพงษ์ อรุณเพ็ง ที่โลดแล่นอยู่ในเทศกาล Busan International Film Festival 2023 ผู้เขียนเชื่อว่าหากวงการหนังไทยได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง จะมีโอกาสได้เห็นภาพยนตร์ นักแสดง ซีรีส์น้ำดีออกมาเรื่อยๆ และสามารถเข้าชิงรางวัลระดับนานาชาติได้ เช่นเดียวกันกับเรื่อง ‘หลานม่า’ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สมควรถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลระดับนานาชาติสักหนึ่งเวที